เทคโนโลยี 3D Printer
- bis3d5
- Jan 29, 2017
- 1 min read

เทคโนโลยี 3D Printer
เทคโนโลยีของเครื่องพิมพ์ 3 มิติ นั้นจะใช้หลักการเดียวกัน คือตัดหรือ Slice งานเป็๋นแผ่นบางๆ แล้วพิมพ์แผ่นนั้นซ้อนทับกันไปเรื่อยๆ ซึ่งข้อแตกต่างระหว่างเทคโนโลยีแต่ละตัวนั้น จะต่างกันในส่วนของวัสดุที่ใช้พิมพ์ และกระบวนการในการพิมพ์ เทคโนโลยีของ 3D printer นั้นสามารถแบ่งออกมาได้ดังนี้
Vat Photopolymerisation
เทคโนโลยีนี้ เป็นการใช้เรซิ่นที่มีความไวต่อแสง UV เทลงในถาด แล้วใช้แสง UV ในการทำให้เรซิ่นแข็งตัว ซึ่งแหล่งของแสง UV นั้นมาอาจจะมาจาก เลเซอร์หรือหลอดไฟ ฺUV เทตโนโลยีถูกคิดค้นโดย Charles Hull ในปี 1986 ซึ่งถือว่าเป็นบิดาแห่งวงการ 3D Printer และยังคงเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท 3D System ที่เป็นบริษัทที่ขาย เครื่องพิมพ์ 3 มิติ ในปัจจุบัน การทำงานของเทคโนโลยีนี้เรียกว่า SLA หรือ Stereolithography ?หลักการคือการฉายภาพวัตถุที่ถูก Slice หรือตัดเป็นแผ่นบางๆ ลงไปใเรซิ่นที่มีความไวต่อแสง UV เรซิ่นจะแข็งตัว เป็นภาพที่ถูกฉาย เมื่อแข็งตัว ถาดจะยกขึ้น ตามค่าความละเอียดที่กำหนด แล้วเริ่มทำการฉายภาพในชั้นตต่อไป ซึ่งตัวเรซิ่นจะเชื่อมต่อกันไปเรี่อยๆ จนเกิดเป็นวัตถุ 3 มิติขึ้น ซึ่งเทคโนโลยีนี้ ก็เหมือนกับการปั้นน้ำเป็นตัว
Material Jetting
เป็นวิธีการพิมพ์เหมือนกับการพิมพ์เอกสาร โดยน้ำหมึกที่ใช้ในการพิมพ์นั้น เป็นน้ำหมึกที่มีส่วนผสมของพลาสติก ซึ่งหัวพิมพ์นั้น จะคล้ายกับหัวพิมพ์ ของเครื่องพิมพ์กระดาษ ตัวน้ำหมึกนั้นจะถูกทำให้แข็งตัวโดยหลอดไฟ UV ?ซึ่งก่อนที่จะพิมพ์ในชั้นต่อไป จะมีหลอด UV วิ่งผ่าน เพื่อให้หมึกแข็งตัวก่อน ที่จะพิมพ์ชั้นต่อไป
Binder Jetting
เทตโนโลยีแบบนี้ จะใช้วัสดุ 2 ชนิด ได้แก่ วัสดุที่เป็นผง และอีกชนิดเป็น ตัวเชื่อมผงที่เป็นของเหลว โดยหลักการทำงานก็คือ จะมีตัวเกลี่ยผงแป้งให้เป็นแผ่นบางๆ หลังจากนั้นจะมีหัวพ่นที่จะพ่นกาวลงไปบนผงแป้ง เพื่อให้แป้งเชื่อมติดกัน หลังจากนั้นตัวถาดก็จะเลื่อนลงตามค่าความละเอียดที่ถูกกำหนดไว้ ตัวเกลี่ยแป้งก็จะเข้ามาเพิ่มเนื้อแป้ง แล้วเกลี่ยให้ผงแป้งเรียบเสมอกัน เพื่อเริ่มพิมพ์ในชั้นถัดไป ข้อดีของเทคโนโลยีนี้ก็คือ ไม่ต้องสร้างตัวรองรับ เพราะผงแป้งจะทำหน้าที่เป็นตัวรองรับชิ้นงานเอง ซึ่งเทคโนโลยี ได้ถูกนำไปใช้ในการพิมพ์ทราย ซึ่งสามารถพิมพ์เป็นบล็อคทราย สำหรับเทโลหะลงไปในแบบทรายได้เลย โดยไม่ต้องทำต้นแบบก่อน
Material Extrusion
เทคโนโลยีนี้ถือว่าเป็นเทคโนโลยี ที่ถูกนำมาใช้มากที่สุด เพราะราคาที่จับต้องได้ ชื่อเรียกของเทคโนโลยีนี้เรียกว่า FDM (Fuse Deposition Material) เทคโนโลยี 3D Printer ชนิดนี้ ถือว่าเป็นที่รู้จักมากที่สุดกว่าว่าได้ เพราะเป็น Open Source ที่เหล่านักสร้าง สามารถนำไปสร้างเครื่องโดยไม่ติดลิขสิทธิ์ โดยเครื่องพิมพ์ 3 มิติแบบ FDM ที่เป็นที่รู้จักในตลาดมากที่สุดคือ Makerbot หลักการทำงานของเทคโนโลยีนี้ก็คือ การฉีดเส้นวัสดุที่มีความหนืด ออกมาจากหัวฉีดที่มีขนาดเล็ก ทับซ้อนกันไปเรื่อยๆ จนเกิดเป็นรูปวัตถุ 3 มิติขึ้นมา วัสดุที่นิยมใช้กับ เทคโนโลยีนี้คือ พลาสติกจำพวก Thermal Plastic เช่น ABS Nylon PLA PET เป็นต้น ซึ่งพลาสติกแต่ละชนิดจะให้คุณสมบัติของชิ้นงานที่พิมพ์แตกต่างกัน สำหรับเทคโนโลยีนี้ จะกล่าวในบทความต่อไป เพราะเป็นเทคโนโลยี ที่ทำให้ 3D printer นั้นเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
Power Bed Fusion
หลักการของเทคโนโลยีนี้คือ ใข้วัสดุที่เป็นผง แล้วใข้เลเซอร์ที่มีกำลังสูงยิงลงไปบนวัสดุที่เป็นผงให้เกิดการเชื่อมติดกันอย่างหลวมๆ ที่เรียกว่า Sinter ซึ่งเทคโนโลยีนี้มีอีกชื่อ SLS หรือ Selective Laser Sintering ซึ่งวิธีนี้สามารถนำมาใช้ในการพิมพ์วัสดุที่เป็นโลหะ หรือพลาสติก ซึ่งพลาสติกที่นิยมใช้จะเป็นจำพวก Nylon ซึ่งมีความเหนียวและแข็งแรง การพิมพ์วิธีนี้จะคล้ายกับเทคโนโลยี Binding Jetting ซึ่งไม่จำเป็นที่จะต้องสร้างตัวรองรับงานหรือ Support เหมือนกับเทคโนโลยีอื่นๆ เพราะตัวผงวัสดุจะทำหน้าที่เป็นตัวรองรับชิ้นงานเอง เมื่อพิมพ์เสร็จแล้วจะต้องนำชิ้นงานเข้าไปใส่ในตู้อบความร้อย เพื่อให้ชั้นต่างๆ ที่พิมพ์นั้นเชื่อมติดกันได้
Sheet Lamination
เทคนิคนี้เป็นการขึ้นรูปโดยการใช้วัสดุที่เป็นแผ่นวางซ้อนกันไปเรื่อยๆ จนเกิดเป็นชิ้นงาน 3 มิติ เครื่องพิมพ์ 3 มิติ ที่ใช้วิธีนี้ ได้แก่ Mcor ซึ่งวัสดุที่ใช้เป็น Sheet หรือแผ่นนั้นเป็นกระดาษธรรมดา ซึ่งผู้ใช้สามารถที่จะพิมพ์งานออกมาเป็นสีได้ โดยเอากระดาษไปพิมพ์สีออกมาก่อน ซึ่ง Software จะคำนวนว่าจะพิมพ์สีตรงไหน เมื่อเสร็จให้นำกระดาษที่พิมพ์เสร็จใส่เข้าเครื่องพิมพ์ เครื่องก็จะเริ่มดึงกระดาษเข้ามาทีละแผ่น แล้วใช้มีดตัดให้เป็นรูปร่างตามชิ้นงานที่ Slice แล้ว หลังจากนั้นตัว เครื่องพิมพ์ 3 มิติ ก็จะเริ่มดึงกระดาษแผ่นต่อไป ผ่านระบบทากาว ของเครื่อง แล้วนำมาแปะบนกระดาษที่ได้ตัดเอาไว้ก่อนหน้านี้ กระบวนการก็จะวนแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนได้ชิ้นงาน 3 มิติออกมา
Direct Energy Depostion
เทคโนโลยี เครื่องพิมพ์ 3 มิติ?แบบนี้ นิยมใช้ในอุตสาหกรรมไฮเทค ซึ่งเป็นเทคโนโลยี ที่มีความซับซ้อน หลักการก็คือ การพ่นผงโลหะลงไปพร้อมกับใช้พลาสมาในการหลอมละลายโลหะ โดยที่หัวพ่นก็จะเคลื่อนที่ไปตามรูปแบบงานที่ผ่านการ Slice ซึ่งผงโลหะที่ใช้สามารถเป็นโลหะที่มีความพิเศษเช่น ไททาเนียม เป็นต้น เทคโนโลยี เครื่องพิมพ์ 3 มิติแบบนี้ได้มีการนำไปรวมกับเทคโนโยลีการขึ้นรูปแบบ Subtractive หรือการกัดเอาเนื้องานออก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของงานที่ได้ออกมา โดยที่ หัวพิมพ์จะทำการพ่นวัสดุลงเป็นรูปร่าง แล้วเครื่องพิมพ์ จะเปลี่ยนเป็นหัวกัด เพื่อนำมากัดงานให้มีขนาดตามที่ต้องการ แล้วจึงกลับไปใช้หัวพ่น พิมพ์งานในชั้นต่อไป
จากบทความด้านบนจะเห็นได้ว่า หลักการของเครื่องพิมพ์ 3 มิติ นั้นจะใช้หลักการเดียวกัน ก็คือใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการตัดชิ้นงานให้เป็นในรูปแบบ 2D หรือเป็นแผ่นระนาบ แล้วค่อยให้เครื่องพิมพ์ เริ่มพิมพ์งานออกมาเป็นชั้นๆ เมื่อพิมพ์เสร็จชั้นแรก ก็จะขยับขึ้นไปพิมพ์ในชั้นต่อไป ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนได้ชิ้นงาน 3 มิติออกมา ซึ่งเทคโนโลยีแต่ละแบบนั้นจะแตกต่างกันในรูปของวัสดุที่ใช้พิมพ์ กับกระบวนการที่ใช้
ที่มา http://3dprinting.com/
Comments